วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ข้อตกลงในการเรียนด้วย Social Media ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

1. เข้าศึกษาเว็บกลาง ม.6 ที่ http://m6term2debsp.blogspot.com/
2. ปฏิบัติตามคำแนะนำในแต่ละคาบเวลาที่กำหนดไว้
3. ดำเนินกิจกรรมตามใบงานที่กำหนด
4. ส่งงานตามใบงานกำหนดให้เสร็จสมบูรณ์ตามเวลาที่กำหนด
5. บันทึก/Capture หน้างาน ส่งทางเมล์ทุกครั้งที่ทำงานแล้วเสร็จ
ม.6 ส่งที่ karnpitcha_j@yahoo.co.th
6. ไฟล์ที่ส่งงาน ให้บันทึกวันที่ทำงานตามด้วย ห้องและเลขที่ของนักเรียน เช่น ปฏิบัติกิจกรรมวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ห้อง 6/3 เลขที่ 28 เป็นดังนี้ 1-11-2553-6328
7. ไม่รับงานที่ช้ากว่ากำหนด ยกเว้นมีเหตุจำเป็นจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ลำดับการส่งงานมีผลต่อคะแนนเก็บด้วย
8. ผู้ที่ขาดการส่งงานเกิน 3 ครั้งจะขอพบผู้ปกครองเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

สาระ วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต 4 รหัส ว 43282 ช่วงชั้นที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ระดับชั้น ม. 6
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายภาค
1. สำรวจตรวจสอบ อภิปรายและอธิบายกระบวนการที่สารผ่านเซลล์ และการรักษาดุลยภาพของเซลล์
2. สำรวจตรวจสอบ อภิปรายและอธิบาย เกี่ยวกับกลไกการรักษาดุลยภาพของน้ำ อุณหภูมิ กรด-เบสและแร่ ธาตุต่างๆ ของ สิ่งมีชีวิต
3. นำความรู้เรื่องการรักษาดุลยภาพไปใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและสิ่งมีชีวิตอื่น
4. สำรวจ สังเกตลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตต่างๆในท้องถิ่น ลักษณะที่เหมือนและแตกต่างกันของสิ่งมีชีวิตหลากหลาย และจำแนกเป็นกลุ่มได้
5. สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิปรายและนำเสนอประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพ และผลของเทคโนโลยีชีวภาพต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
6. สืบค้นข้อมูล อภิปราย และนำเสนอคุณค่าของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตกับการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ที่มีผลต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
7. สังเกตสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันในสภาพแวดล้อมและสร้างสถานการณ์จำลองแสดงถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต
8. สืบค้นข้อมูล และนำเสนอเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตกับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
9. สืบค้นข้อมูล และอธิบายโครงสร้างอะตอม ชนิดและจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอมจาก สัญลักษณ์นิวเคลียร์ ของธาตุ วิเคราะห์และเปรียบเทียบการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่างๆ
10. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุดกับสมบัติของธาตุ และการเกิดปฏิกิริยา
11. อธิบายการจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ และทำนายแนวโน้มของสมบัติของธาตุในตารางธาตุ
12. ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล อภิปรายและอธิบายการเกิดพันธะเคมีในโมเลกุลหรือในโครงผลึกของสาร และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสาร ในเรื่องจุดเดือด จุดหลอมเหลว และสถานะกับแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสาร
13. ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสมบัติ สารประกอบและเลขอะตอมของธาตุ

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

เว็บไซต์เรื่องคลื่น
1.http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99

2.http://www.bkw.ac.th/content/snet3/saowalak/wave/wave.htm

3.http://www.icphysics.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=54

4.http://www.rsu.ac.th/science/physics/pom/physics_2/wave/wave_1.htm

5.http://www.bs.ac.th/lab2000/physicweb/sonic.htm

6.http://blake.prohosting.com/pstutor/physics/wave/wave_concept.html

7.http://www.school.net.th/library/snet3/saowalak/wave/wave.htm

8.http://www.absorn.ac.th/e-learning/ebook/supatra/b4.htm

9.http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=077319e94ff39886

10.http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet3/saowalak/wave/mechanical_wave/m_wave.htm

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประเมิณผลงาน 100 คะแนน

ขอให้เพื่อน ๆ ร่วมกันประเมิณผลงาน ขอบคุนมากๆนะคับ ^^
เพื่อนประเมิณเพื่อนอย่างน้อย

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แรงโน้มถ่วง


ในทางฟิสิกส์ ความโน้มถ่วง หรือ แรงโน้มถ่วง คือแรงที่กระทำระหว่างมวล แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลัก ซึ่งประกอบด้วย แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และ แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม ในจำนวนแรงทั้งสี่แรงหลัก แรงโน้มถ่วงมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าแรงโน้มถ่วงจะเป็นแรงที่เราไม่สามารถรับรู้ได้มากนักเพราะความเบาบางของแรงที่กระทำต่อเรา แต่ก็เป็นแรงเดียวที่ยึดเหนี่ยวเราไว้กับพื้นโลก แรงโน้มถ่วงมีความแรงแปรผันตรงกับมวล ไม่มีการลดทอนหรือถูกดูดซับเนื่องจากมวลใด ๆ ทำให้แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่สำคัญมากในการยึดเหนี่ยวเอกภพไว้ด้วยกัน

นอกเหนือจากความโน้มถ่วงที่เกิดระหว่างมวลแล้ว ความโน้มถ่วงยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่เราเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ตามกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน เช่น การเพิ่มหรือลดความเร็วของวัตถุ การเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ เป็นต้น




กฎความโน้มถ่วงของนิวตัน

เมื่อ:


F เป็นความโน้มถ่วงระหว่างมวลทั้งสอง
G เป็นค่าคงที่ความโน้มถ่วง
m1 เป็นมวลของวัตถุแรก
m2 เป็นมวลของวัตถุที่สอง
r เป็นระยะห่างระหว่างวัตถุทั้งสอง
นั่นคือความโน้มถ่วงแปรผันตรงกับมวล (มวลมากก็มีความโน้มถ่วงมาก) และแปรผกผันกับระยะห่างกำลังสอง (ระยะห่างมากก็มีความโน้มถ่วงน้อย)





น้ำหนัก แรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อคนหรือวัตถุใด ๆ บนพื้นผิวโลก คือ น้ำหนัก ( Weight ) เมื่อนักเรียนยืนบนเครื่องชั่งน้ำหนัก นั่นคือนักเรียนกำลังวัดแรงที่โลกดึงดูดนักเรียนอยู่ อย่าสับสนกับคำว่าน้ำหนักกับมวล น้ำหนักเป็นค่าของแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อวัตถุ ส่วนมวลเป็นค่าที่บอกปริมาณของสสารที่มีอยู่ในวัตถุ
เนื่องจากน้ำหนักคือแรง นักเรียนสามารถใช้กฎของนิวตันที่ว่า แรง = มวล x ความเร่ง
น้ำหนัก = มวล x ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วง
น้ำหนัก มีหน่วยเป็น นิวตัน มวลมีหน่วยเป็น กิโลกรัม และความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงมีหน่วยเป็น เมตรต่อวินาทีกำลังสอง ดังนั้นคนที่มีมวล 50 กิโลกรัม จะมีน้ำหนัก 50 กิโลกรัม x 9.8 เมตรต่อวินาที่กำลังสอง = 490 นิวตันบนโลก
คลื่น หมายถึง ลักษณะของการถูกรบกวน ที่มีการแผ่กระจาย เคลื่อนที่ออกไป ในลักษณะของการกวัดแกว่ง หรือกระเพื่อม และมักจะมีการส่งถ่ายพลังงานไปด้วย คลื่นเชิงกลซึ่งเกิดขึ้นในตัวกลาง (ซึ่งเมื่อมีการปรับเปลี่ยนรูป จะมีความแรงยืดหยุ่นในการดีดตัวกลับ) จะเดินทางและส่งผ่านพลังงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในตัวกลาง โดยไม่ทำให้เกิดการเคลื่อนตำแหน่งอย่างถาวรของอนุภาคตัวกลาง คือไม่มีการส่งถ่ายอนุภาคนั่นเอง แต่จะมีการเคลื่อนที่แกว่งกวัด (oscillation) ไปกลับของอนุภาค อย่างไรก็ตามสำหรับ การแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และ การแผ่รังสีแรงดึงดูด นั้นสามารถเดินทางในสุญญากาศได้ โดยไม่ต้องมีตัวกลาง

ลักษณะของคลื่นนั้น จะระบุจาก สันคลื่น หรือ ยอดคลื่น (ส่วนที่มีค่าสูงขึ้น) และ ท้องคลื่น (ส่วนที่มีค่าต่ำลง) ในลักษณะ ตั้งฉากกับทิศทางเดินคลื่น เรียก "คลื่นตามขวาง" (transverse wave) หรือ ขนานกับทิศทางเดินคลื่น เรียก "คลื่นตามยาว" (longitudinal wave)

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ข้อสอบ O-net 2552 ข้อ 53-57

ตอบ ข้อ 1

อธิบาย

การหักเหเป็นสมบัติของคลื่น เมื่อคลื่นเคลื่อนที่จากตัวกลางตัวหนึ่งแล้วผ่านเข้าสู่ตัวกลางหนึ่งที่ไม่ใช้ตัวกลางเดิมจะเกิดการหักเห

ตอบ ข้อ





ตอบ ข้อ 2
อธิบาย
การสะท้อนของเสียง
เสียงมีการสะท้อนเหมือนกับคลื่น เป็นไปตามกฏการสะท้อน โดยที่เมื่อเสียงเคลื่อนที่จาก
ตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากจะมีการสะท้อนของคลื่นเสียงเกิดขึ้นซึ่งเฟสจะเปลี่ยนไป 180 องศา แต่ถ้าเสียงเคลื่อนที่จากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปยัง
ตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยจะมีการสะท้อนเพียงบางส่วนซึ่ง การสะท้อนนี้คลื่นเสียงจะมีเฟสเท่าเดิม





ตอบ ข้อ


ตอบ ข้อ 2
อธิบาย

แสงเหนือแสงใต้ มีความสัมพันธ์กับสนามแม่เหล็กของโลกแสงเหนือแสงใต้เกิดจากการที่อนุภาคไฟฟ้า โดยเฉพาะโปรตอนและอิเลคตรอนซึ่งเดินทางมาจากดวงอาทิตย์ พุ่งเข้าชนบรรยากาศของโลกด้วยความเร็วนับร้อยหรือพันกิโลเมตรต่อวินาทีอนุภาคไฟฟ้าไม่สามารถจะเคลื่อนที่ตัดผ่านสนามแม่เหล็กเข้ามาตรงๆ ได้ จึงมีการเบี่ยงเบนหมุนควงตามเส้นแรงแม่เหล็ก เข้าสู่บรรยากาศของโลกทางขั้วเหนือและขั้วใต้ของโลก