วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประเมิณผลงาน 100 คะแนน

ขอให้เพื่อน ๆ ร่วมกันประเมิณผลงาน ขอบคุนมากๆนะคับ ^^
เพื่อนประเมิณเพื่อนอย่างน้อย

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แรงโน้มถ่วง


ในทางฟิสิกส์ ความโน้มถ่วง หรือ แรงโน้มถ่วง คือแรงที่กระทำระหว่างมวล แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลัก ซึ่งประกอบด้วย แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และ แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม ในจำนวนแรงทั้งสี่แรงหลัก แรงโน้มถ่วงมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าแรงโน้มถ่วงจะเป็นแรงที่เราไม่สามารถรับรู้ได้มากนักเพราะความเบาบางของแรงที่กระทำต่อเรา แต่ก็เป็นแรงเดียวที่ยึดเหนี่ยวเราไว้กับพื้นโลก แรงโน้มถ่วงมีความแรงแปรผันตรงกับมวล ไม่มีการลดทอนหรือถูกดูดซับเนื่องจากมวลใด ๆ ทำให้แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่สำคัญมากในการยึดเหนี่ยวเอกภพไว้ด้วยกัน

นอกเหนือจากความโน้มถ่วงที่เกิดระหว่างมวลแล้ว ความโน้มถ่วงยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่เราเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ตามกฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน เช่น การเพิ่มหรือลดความเร็วของวัตถุ การเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ เป็นต้น




กฎความโน้มถ่วงของนิวตัน

เมื่อ:


F เป็นความโน้มถ่วงระหว่างมวลทั้งสอง
G เป็นค่าคงที่ความโน้มถ่วง
m1 เป็นมวลของวัตถุแรก
m2 เป็นมวลของวัตถุที่สอง
r เป็นระยะห่างระหว่างวัตถุทั้งสอง
นั่นคือความโน้มถ่วงแปรผันตรงกับมวล (มวลมากก็มีความโน้มถ่วงมาก) และแปรผกผันกับระยะห่างกำลังสอง (ระยะห่างมากก็มีความโน้มถ่วงน้อย)





น้ำหนัก แรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อคนหรือวัตถุใด ๆ บนพื้นผิวโลก คือ น้ำหนัก ( Weight ) เมื่อนักเรียนยืนบนเครื่องชั่งน้ำหนัก นั่นคือนักเรียนกำลังวัดแรงที่โลกดึงดูดนักเรียนอยู่ อย่าสับสนกับคำว่าน้ำหนักกับมวล น้ำหนักเป็นค่าของแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อวัตถุ ส่วนมวลเป็นค่าที่บอกปริมาณของสสารที่มีอยู่ในวัตถุ
เนื่องจากน้ำหนักคือแรง นักเรียนสามารถใช้กฎของนิวตันที่ว่า แรง = มวล x ความเร่ง
น้ำหนัก = มวล x ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วง
น้ำหนัก มีหน่วยเป็น นิวตัน มวลมีหน่วยเป็น กิโลกรัม และความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงมีหน่วยเป็น เมตรต่อวินาทีกำลังสอง ดังนั้นคนที่มีมวล 50 กิโลกรัม จะมีน้ำหนัก 50 กิโลกรัม x 9.8 เมตรต่อวินาที่กำลังสอง = 490 นิวตันบนโลก
คลื่น หมายถึง ลักษณะของการถูกรบกวน ที่มีการแผ่กระจาย เคลื่อนที่ออกไป ในลักษณะของการกวัดแกว่ง หรือกระเพื่อม และมักจะมีการส่งถ่ายพลังงานไปด้วย คลื่นเชิงกลซึ่งเกิดขึ้นในตัวกลาง (ซึ่งเมื่อมีการปรับเปลี่ยนรูป จะมีความแรงยืดหยุ่นในการดีดตัวกลับ) จะเดินทางและส่งผ่านพลังงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในตัวกลาง โดยไม่ทำให้เกิดการเคลื่อนตำแหน่งอย่างถาวรของอนุภาคตัวกลาง คือไม่มีการส่งถ่ายอนุภาคนั่นเอง แต่จะมีการเคลื่อนที่แกว่งกวัด (oscillation) ไปกลับของอนุภาค อย่างไรก็ตามสำหรับ การแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และ การแผ่รังสีแรงดึงดูด นั้นสามารถเดินทางในสุญญากาศได้ โดยไม่ต้องมีตัวกลาง

ลักษณะของคลื่นนั้น จะระบุจาก สันคลื่น หรือ ยอดคลื่น (ส่วนที่มีค่าสูงขึ้น) และ ท้องคลื่น (ส่วนที่มีค่าต่ำลง) ในลักษณะ ตั้งฉากกับทิศทางเดินคลื่น เรียก "คลื่นตามขวาง" (transverse wave) หรือ ขนานกับทิศทางเดินคลื่น เรียก "คลื่นตามยาว" (longitudinal wave)