กิจกรรม 22-26 พ.ย. 2553












ตอบ 3

อธิบาย

เนื้อหา เรื่องมิวเทชัน (MUTATION)
มิวเทชันหรือ การ กลายพันธุ์หมายถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรมและลักษณะที่เปลี่ยนแปลง สามารถจะถ่ายทอดจากชั่วอายุหนึ่งได้ แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ
1.มิวเทชันระดับโครโมโซม(chromosome mutation)คือการกลายพันธุ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครโมโซม อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซมหรือการเปลี่ยนแปลงจำนวน โครโมโซม
2. มิวเทชันระดับยีน(gene mutation หรือpoint mutation)คือการเปลี่ยนแปลงจากยีนหนึ่งไปเป็นอีกยีนหนึ่งซึ่งป็นผลจากการ เปลี่ยนแปลงนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอ











ตอบ 1
อธิบาย
พืชดัดแปลงพันธุกรรม คือพืชที่ผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่จำเพาะเจาะจงตามต้องการ เช่น มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือมีการเพิ่มขึ้นของสารโภชนาการหรือชีวโมเลกุลบางชนิด เช่น วิตามิน โปรตีน ไขมัน เป็นต้น พืชดัดแปลงพันธุกรรมถือเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือจี เอ็ม โอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) ประเภทหนึ่ง







ตอบ 2
อธิบาย
การ โคลนนิ่งเป็นกระบวนการสร้างสิ่งมีชีวิตให้มีลักษณะทางกายภาพและพันธุกรรม เหมือนกันแต่จะใช้เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้(อสุจิ)และเพศเมีย(ไข่)มาผสมกันแต่จะ ใช้เซลล์จากสัตว์ที่เราจะทำการโคลนนิ่งมาใช้เป็นเซลล์ต้นแบบแทน ทำให้ลูกที่ได้มีลักษณะของเพศและพันธุ์เหมือนกัน







ตอบ 4
อธิบาย
หน่วย พันธุกรรมหรือยีนมีสมบัติในการ ควบคุมลักษณะกรรมพันธุ์ต่างๆในร่างกายของสิ่งมีชีวิต และมีสมบัติถ่ายทอด จากพ่อแม่ไปสู่ลูกได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ตราบใดที่สิ่งมีชีวิตนั้นยังคงมีสมบัติการสืบพันธุ์ที่สมบูรณ์แบบต่อไปได้ อีก นักบวชชาวออสเตรียที่มีชื่อว่า เกรกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel) ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์ (genetics) เพราะได้ค้นพบกฎการถ่ายทอดพันธุกรรม ๒ ประการ จากผลของการทดลองเพื่อศึกษาการถ่ายทอดพันธุกรรมในถั่วลันเตา ในบริเวณแปลงทดลองของโบสถ์ ที่เมืองบรึนน์ (BrŸnn) ประเทศออสเตรีย และได้รายงานผลการวิจัยดังกล่าวใน พ.ศ. ๒๔๐๘ นับได้ว่าเป็นการวิจัยทางชีววิทยาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งในขณะนั้น เมนเดลได้แยกแยะไว้ชัดเจนระหว่างลักษณะกรรมพันธุ์ที่เขาใช้คำว่า “merkmal” กับแนวความคิดเกี่ยวกับหน่วยพันธุกรรมที่เขาใช้คำว่า “elemente” โดยเมนเดลคิดว่าหน่วยพันธุกรรมนี้คงจะ อยู่ภายในเซลล์ และมีส่วนควบคุมลักษณะกรรมพันธุ์ดังกล่าวด้วย โดยหน่วยพันธุกรรมดังกล่าวนี้ปัจจุบันเรียกว่า ยีน เมนเดลตระหนักดีว่า หน่วยพันธุกรรมดังกล่าวนั้นจะอยู่เป็นคู่ๆมากมายหลายคู่ด้วยกัน ซึ่งต่างก็ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะกรรมพันธุ์มากมายหลายลักษณะ ดังที่ได้สังเกตเห็นในถั่วลันเตาที่เขาใช้ทดลอง ยิ่งไปกว่านั้น เมนเดลยังคาดคิดต่อไปอีกว่า หน่วยพันธุกรรมในแต่ละคู่นั้นคงจะควบคุมลักษณะกรรมพันธุ์ในแต่ละอย่างที่มี ความแตกต่างตรงข้ามกัน เช่น คู่ของ หน่วย A กับ a ควบคุมลักษณะต้นสูงกับต้นเตี้ยตามลำดับ หรือคู่ของหน่วย B กับ b ควบคุมลักษณะเมล็ดสี เหลืองกับเมล็ดสีเขียว ลักษณะ กรรมพันธุ์ที่แสดงออกทุกรุ่น เช่น ต้นสูงและเมล็ดสีเหลือง ควบคุมโดยหน่วยพันธุกรรมที่มีลักษณะเด่น (domi- nant) ส่วนลักษณะตรงกันข้าม เช่น ต้นเตี้ยและเมล็ดสีเขียว ซึ่งไม่แสดงออกทุกรุ่น ควบคุมโดยหน่วยพันธุกรรมที่มีลักษณะด้อย (recessive) ซึ่งถูกข่มโดยหน่วยพันธุกรรมที่มีลักษณะเด่นเมื่อมันมาเข้าคู่อยู่ด้วยกัน เช่น คู่ Aa หรือคู่ Bb ถึงแม้ว่าเมนเดลไม่ได้สังเกตเห็นหน่วยพันธุกรรมที่อยู่กันเป็นคู่ๆภายใน เซลล์ก็ตาม แต่เขาก็เข้าใจดีว่า หน่วยพันธุกรรมที่เป็นคู่กันในลูกผสมนั้นครึ่งหนึ่งได้มาจากพันธุ์พ่อ โดยผ่านทางละอองเกสรตัวผู้ ส่วนอีกครึ่งหนึ่งได้จากพันธุ์แม่โดยผ่าน ทางไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจากละอองเกสรตัวผู้ เมนเดลได้สรุปแนวความคิดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การถ่ายทอดหน่วยพันธุกรรมไว้ ๒ ประการ คือ (๑) การแยกตัวของหน่วยพันธุกรรม (๒) การรวมกลุ่มของหน่วย พันธุกรรมอย่างอิสระ แต่แนวความคิดที่ลึกซึ้งของเมนเดลนี้ก้าวหน้าล้ำยุคเกินกว่าที่ นักวิชาการร่วมสมัยจะเข้าใจได้









ตอบ 4

อธิบาย
พืช บกที่มีเนื้อเยื่อลำเลียงพวกแรกมีวิวัฒนาการต่อไปแยกเป็น 2 สาย สายหนึ่งเป็นหวายทะนอย อีกสายหนึ่งแยกได้เป็น 3 สายคือ พวกช้องนาคลี่ หญ้าถอดปล้องและพวกที่มีใบเป็นแผ่นกว้างซึ่งจะแยกเป็นพวกเฟิร์นกับพืชพวกมี เมล็ด โดยพืชมีเมล็ดยังมีวิวัฒนาการต่อไปอีกเป็นพวกเมล็ดมีสิ่งห่อหุ้ม ได้แก่พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่ พวกเมล็ดไม่มีสิ่งห่อหุ้ม เช่น สนและปรง