กิจกรรม 29พ.ย. - 3 ธ.ค. 2553







ตอบ 3

สารละลาย

สารละลาย (solution) หมายถึง สารเนื้อเดียวที่ไม่บริสุทธิ์ เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน สารละลายแบ่งส่วนประกอบได้ 2 ส่วนคือ

1. ตัวทำละลาย (solvent) หมายถึง สารที่มีความสามารถ ในการทำให้สารต่างๆ ละลายได้ โดยไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับสารนั้น

2. ตัวละลาย (solute) หมายถึง สารที่ถูกตัวทำละลายละลายให้กระจายออกไปทั่วในตัวทำละลายโดยไม่ทำปฏิกิริยาเคมีต่อกัน

สารละลายมีทั้ง 3 สถานะ คือ สารละลายของแข็ง สารละลายของเหลว และสารละลายแก๊ส

สารละลายของแข็ง หมายถึง สารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นของแข็ง เช่น ทองเหลือง นาก โลหะบัดกรี สัมฤทธิ์ เป็นต้น

สารละลายของเหลว หมายถึง สารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นของเหลว เช่น น้ำเชื่อม น้ำหวาน น้ำเกลือ น้ำปลา น้ำส้มสายชู น้ำอัดลม เป็นต้น

สารละลายแก๊ส หมายถึงสารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นแก๊ส เช่น อากาศ แก๊สหุงต้ม ลูกเหม็นในอากาศ ไอน้ำในอากาศ เป็นต้น

ตัวละลายแต่ละชนิดจะใช้ตัวทำละลายที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างตัวทำละลายและตัวถูกละลาย ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนั้นจะต้องรวมเป็นเนื้อเดียวกันและไม่ทำปฏิกิริยาเคมีต่อกัน ตัวอย่างเช่น



- เกลือ น้ำตาลทราย สีผสมอาหาร จุนสี สารส้ม กรดเกลือ กรดกำมะถัน ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย

- โฟม ยางพารา พลาสติก ใช้น้ำมันเบนซินเป็นตัวทำละลาย

- สีน้ำมัน โฟม พลาสติก แลคเกอร์ ใช้ทินเนอร์เป็นตัวทำละลาย

- สีน้ำมันใช้น้ำมันสนเป็นตัวทำละลาย



 



ตอบ 1

เซลล์เม็ดเลือดแดง คืออะไร เซลล์เม็ดเลือดแดง (red blood cell หรือ erythrocyte) เป็นเซลล์ที่ไม่มีนิวเคลียส และมีรูปร่างแตกต่างจากเซลล์โดยทั่วไป เมื่อดูผ่านกล้องจุลทรรศน์ จะเห็นว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงมีลักษณะคล้ายกับโดนัทที่ไม่มีรูตรงกลาง โดยส่วนกลางจะมีลักษณะบางกว่าส่วนขอบของเซลล์ ลักษณะดังกล่าวเมื่อดูผ่านกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงจะทำให้ปริมาณแสงส่องทะลุผ่านได้ไม่เท่ากัน เกิดเป็นภาพคล้ายกับโดนัทที่เห็นกันจนคุ้นตา





ตอบ 1



CBC

หรือ complete blood count เป็นการตรวจที่บ่อยที่สุดโดยการตรวจวัดเซลล์ต่างๆในเลือดได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดโดยอาจจะตรวจด้วยเครื่องหรือโดยการส่องกล้องซึ่งจะตรวจ

เกี่ยวกับเม็ดเลือดแดงแพทย์จะตรวจ



จำนวนเม็ดเลือดแดง Red blood cell (RBC) count

ความเข็มของเลือด Hematocrit

Hemoglobin

MCV

MCH

MCHC

เกี่ยวกับเม็ดเลือดขาวแพทย์จะตรวจ



เม็ดเลือดขาว White blood cell

อัตราส่วนเม็ดเลือดขาว Differential blood count (Diff)

เกี่ยวกับเกร็ดเลือด



จำนวนเกร็ดเลือด Platelet count



ตอบ 4

โครงสร้างของสิ่งมีชีวิต
1. ผู้ผลิต (prodcer) คือ สามารถสร้างอาหารได้เอง เช่น พืช สาหร่าย

2. ผู้บริโภค (consumer) คือ ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ ต้องกิันผู้อื่นเป็นอาหาร แบ่งออกเป็น

2.1 กินพืช (herbivore) เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย

2.2 กินเนื้อ (carnivore) เช่น เสือ สิงโต หมาป่า

2.3 กินทั้งพืชและสัตว์ (omnivore) เช่น คน หมาบ้าน

2.4 กินซาก (scarvenger) เช่น ไส้เดือน กิ้งกือ แร้ง

3. ผู้ย่อยสลายอินทร์ยสาร (decomposer) คือ พวกที่ปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยสลายสารอาหาร เข้าไปเลี้ยงร่างกาย เช่น แบคทีเรีย เห็ด รา



ตอบ 4

ฉบับนี้จะพาท่านมาพบกับความมหัศจรรย์ของร่างกายมนุษย์ในเรื่องการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

ปกติคนเราเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ร่างกายของคนเราจะมีการสร้างความร้อน ทำให้ร่างกายมีความอบอุ่นขณะเดียวกันความร้อนก็จะถ่ายเทไปให้กับสิ่งแวดล้อม ทำให้ร่างกายของคนเรามีอุณหภูมิคงที่ เราเรียกคนหรือสัตว์ที่มีอุณหภูมิของร่างกายคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมนี้ว่า สัตว์เลือดอุ่น (ได้แก่ นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม)

ส่วนสัตว์ที่มีอุณหภูมิไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม เรียกสัตว์ประเภทนี้ว่า สัตว์เลือดเย็น (มีสัตว์ต่างๆ ยกเว้นนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม)



อุณหภูมิปกติของร่างกายคนประมาณ 36.3-37.1 องศาเซลเซียส เฉลี่ยประมาณ 37 องศาเซลเซียสหรือ 98.7 องศาฟาเรนไฮด์



ความร้อนในร่างกายเกิดขึ้นได้อย่างไร

ความร้อนในร่างกายเกิดขึ้นหลายทางด้วยกัน โดยปกติแล้วเกิดขึ้นจากการทำงานของกล้ามเนื้อ การหดและการคลายตัวของกล้ามเนื้อทำให้เกิดพลังงานความร้อนได้



ถ้าลองสังเกตในเวลาอากาศหนาวเย็น เนื้อตัวจะสั่นไปหมด เนื่องจากการหดตัวของกล้ามเนื้อทำให้เกิดพลังงานเพื่อให้เกิดความอบอุ่น



ความร้อนยังอาจเกิดขึ้นจากการย่อยอาหารในกระเพาะลำไส้ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย





ตอบ 4

พืชจำเป็นต้องปรับโครงสร้างของใบให้เอื้ออำนวยในการรับแสงให้ได้มาก

ใบพืชที่อยู่ในบริเวณป่าเขตร้อนจะมีชั้นเอพิเดอร์มิสที่อยู่ด้านนอกสุดทำหน้าที่คล้ายเลนส์รวมแสง ทำให้แสงส่องไปถึง คลอโรพลาสต์และมีความเข้มของแสงสูงกว่าแสงภายนอกใบ แสงส่วนหนึ่งจะถูกดูดซับในสารสีในคลอโรพลาสต

์ของเซลล์แพลิเซด และแสงส่วนที่เหลือจะสามารถผ่านลงไปถึงชั้นเซลล์ด้านล่างได้โดยผ่านช่องระหว่าคลอโรพลาสต์และ

ช่องระหว่างเซลล์ส่วนชั้นสปันจีมีโซฟิลล์ที่อยู่ด้านล่างมีรูปร่างหลากหลายและมีช่องว่างระหว่างเซลล์มาก

รอยต่อระหว่างอากาศและน้ำที่เคลือบผนังเซลล์ช่วยสะท้อนแสงไปได้หลายทิศทาง และเพิ่มโอกาสที่แสงจะถูกดูดซับ

ในสารสีในเซลล์มากขึ้น



ในบางสภาพแวดล้อมที่มีแสงมากจนกระทั่งอาจเป็นอันตรายต่อพืชได้ ใบพืชจะมีโครงสร้างพิเศษ เช่น

ขนและชั้นคิวทิเคิลที่ผิวใบพืชช่วยการสะท้อนแสง และลดการดูดซับแสงของใบ การปรับตัวเช่นนี้อาจสามารถ

ลดการดูดซับแสงได้มากถึงร้อยละ 40 และลดปัญหาใบมีอุณหภูมิสูงและปัญหอื่นๆ ที่เกิดจากการดูดซับแสงมากเกินไป

การควบคุมการรับแสงของใบพืช

ใบพืชสามารถควบคุมการรับแสงได้ เช่น การเคลื่อนที่ของคลอโรพลาสต์ในเซลล์และการเคลื่อนไหว

ของใบพืช พืชบางชนิด เช่น ถั่วและฝ้าย พบว่าในช่วงเวลาเที่ยงวันพืชสามารถปรับตำแหน่งของแผ่นใบ

เพื่อรับแสงตามความต้องการของพืช นอกจากนี้ยังมีคลอโรพลาสต์ในเซลล์และการเคลื่อนไหวของใบพืช

นอกจากนี้ยังมีพืชอีกหลายชนิดสามารถปรับตำแหน่งของแผ่นในเพื่อลดการรับแสงอาทิตย์โดยตรง

ทำให้การรับแสงและความร้อนลดลง

การปรับตัวของพืชให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของแสง

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ศึกษาการปรับตัวของใบโกสนพันธุ์ใบส้ม

ต่อความเข้มของแสงที่ต่างกัน โดยศึกษากับใบที่เกิดใหม่ระหว่าการทดลอง และใบเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนการทดลอง

จากการศึกษาพบว่า

ใบที่เกิดใหม่ระหว่างการทดลอง เมื่อเจริญในที่มีความเข้มข้นของแสงสูง พบว่ามีพื้นที่ของใบ

และปริมาณคลอโรฟิลล์ต่ำกว่าใบที่อายุเท่ากันที่เจริญในที่มีความเข้มของแสงต่ำ และใบที่เจริญในที่มีความเข้มของแสงสูง

จะมีความหนาของใบมากกว่า ซึ่งเมื่อศึกษาโครงสร้างของใบตามขวาง พบว่ามีชั้นแพลิเซดมีโซฟิลล์เป็นรูปแท่ง 2 ชั้น

ในขณะที่ใบที่เจริญที่มีความเข้มของแสงต่ำ จะมีชั้นแพลิเซดมีโซฟิลล์เป็นรูปแท่งเพียงชั้นเดียว อีกชั้นหนึ่งมีรูปร่าง

ไม่แน่นอน

ใบที่เจริญเติบโตเต็มที่ก่อนการทดลอง เมื่อเจริญในที่มีความเข้มของแสงสูง จะมีปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ

และคลอโรฟิลล์ บี ลดลง ส่วนในใบที่เจริญในที่มีความเข้มของแสงต่ำ จะมีปริมาณคลอโรฟิลล์เอและคลอโรฟิลล์บีเพิ่มขึ้น

พืชยืนต้นที่มีการแตกกิ่งสาขามากๆ ช่วยเพิ่มความสามารถในการรับแสงได้มากขึ้น เช่น

ต้นหูกวางสามารถแตกกิ่งก้านสาขามีเรือนพุ่มกว้างปกคลุมพื้นดินได้มากนับร้อยตารางเมตร

และมีการจัดเรียงกิ่งรอบลำต้นเพื่อให้ใบแต่ละใบรับแสงได้อย่างเต็ฒที่ ต้นยางนาอาจมีลำต้นสูงถึง 30 เมตร

ทำให้ชูใบขึ้นเพื่รับแสงได้เหนือพืชอื่นๆในป่า

พืชที่เจริญเติบโตอยู่ใต้เรือนพุ่มของพืชอื่น จะมีโอกาสสร้างชีวมาลได้น้อยกว่าจึงเกิดการแข่งขันกันเพื่อรับแสง

โดยการจัดการเรียงตัวของใบ ลำต้น กิ่ง และก้านใบมีโอกาสรับแสงได้มากสุด

จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่าหระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นกระบวนการที่พืชใช้พลังงานแสงเพื่อสร้างสารอินทรีย์

จากสารอนินทรีย์ คือ คาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ เป็นคาร์โบไฮเดรต พลังงานแสงจะถูกเปลี่ยนรูปมาเก็บ

อยู่ในรูปพลังงานเคมีในโมเลกุลของสารอินทรีย์

การสังเคราะห์ด้วยแสงจะเกิดขึ้นที่เยื่อไทลาคอยด์และสโตรมาของคลอโรพลาสต์ ประกอบด้วยปฏิกิริยาแสง

ซึ่งจะได้สารพลังงานสูงเพื่อนำไปใช้ในปฏิกิริยาตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ ปฏิกิริยาตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ของพืช C3 C4

และพืชซีเอเอ็ม จะแตกต่างกันออกไป ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง เช่น ปริมาณน้ำที่ได้รับ

ความเข้มของแสง และอุณหภูมิ เป็นต้น





http://nd-biology.tripod.com/mysite/nd_biology_16.html



ตอบ 4



ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน





ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic system)

เป็นระบบลำเลียงที่ช่วยลำเลียงสารต่างๆให้กลับเข้าสู่เส้นเลือด โดยเฉพาะสารอาหาร พวกกรดไขมันที่ดูดซึมจากลำไส้เล็ก ระบบน้ำเหลืองจะไม่มีอวัยวะสำหรับสูบฉีดไปยังส่วนต่างๆ





น้ำเหลือง (Lymph)

เป็นของเหลวที่ซึมผ่านผนังเส้นเลือดฝอยออกมาอยู่ระหว่างเซลล์หรืออยู่ รอบๆเซลล์ เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ ในน้ำเหลืองจะมีโปรตีนโมเลกุลเล็ก เช่น อัลบูมิน และสารที่มีโมเลกุลเล็ก เช่น ก๊าซ น้ำ น้ำตาลกลูโคส





ท่อน้ำเหลือง (Lymph vessel)

เป็นท่อตันมีอยู่ทั่วร่างกายมีขนาดต่างๆกัน มีลักษณะคล้ายเส้น เลือดเวน คือ มีลิ้นกันป้องกันการไหลกลับของน้ำเหลือง ท่อน้ำเหลืองขนาดใหญ่ที่สำคัญมี 2 ท่อ คือ

1) ท่อน้ำเหลืองทอราซิก (Thoracic duct)

2) ท่อน้ำเหลืองทางด้านขวาของลำตัว (Right lymphatic duct)

ท่อน้ำเหลืองทอราซิก (Thoracic duct)

เป็นท่อน้ำเหลืองขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่รับน้ำเหลือง จากส่วนต่างๆ ของร่างกาย ยกเว้นทรวงอกขวา แขนขวาและส่วนขวาของหัวกับคอ เข้าเส้นเลือดเวนแล้ว เข้าสู่เวนาคาวาก่อนเข้าสู่หัวใจ อยู่ทางซ้ายของลำตัว

ท่อน้ำเหลืองทางด้านขวาของลำตัว (Right lymphatic duct)

รับน้ำเหลืองจากทรวงอกขวา แขนขวา ส่วนของหัวกับคอเข้าเส้นเลือดเวน แล้วเข้าสู่เวนาคาวา เข้าสู่หัวใจ จากนั้นน้ำเหลืองที่อยู่ในท่อน้ำเหลือง จะเข้าหัวใจปนกับเลือดเพื่อลำเลียงสารต่อไป





การไหลของน้ำเหลือง (The flow of lymph)

น้ำเหลืองไหลไปตามท่อน้ำเหลือง โดยอาศัยปัจจัย 3 ประการ คือ

- การหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อที่จะไปกดหรือคลายท่อน้ำเหลือง

- ความแตกต่างระหว่างความดันไฮโดรสเตติก ซึ่งท่อน้ำเหลืองขนาดเล็กมีมากกว่า ท่อน้ำเหลืองขนาดใหญ่

- การหายใจเข้า ซึ่งไปมีผลขยายทรวงอกและลดความดันทำให้ท่อน้ำเหลืองขยายตัว

อวัยวะน้ำเหลือง (lymph organ)

อวัยวะน้ำเหลืองเป็นศูนย์กลางในการผลิตเซลล์ที่ใช้ในการต่อต้านเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม ประกอบด้วย ต่อมน้ำเหลือง ต่อมทอนซิล ต่อมไทมัส และม้าม





ต่อมน้ำเหลือง (lymph node)

พบอยู่ระหว่างทางเดินของท่อน้ำเหลือง ลักษณะเป็นรูปไข่ กลม หรือรี จะมีท่อน้ำเหลืองเข้าและท่อน้ำเหลืองออกภายใน เต็มไปด้วยเม็ดเลือดขาวชนิดโฟไซต์ ต่อมน้ำเหลืองทำหน้าที่กรองน้ำเหลืองให้สะอาดทำลายแบคทีเรีย และทำลายเม็ดเลือดขาวที่อยู่ในวัยชรา



คือ น้ำเหลือง หลอดหรือท่อน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลือง รวมทั้งม้าม ต่อมทอนซิล และไทมัส

หน้าที่ : กรองเลือด สร้างเม็ดเลือด ช่วยป้องกันโรค และคืนโปรตีนกลับสู่หลอดเลือด

ระบบน้ำเหลือง ได้แก่





ท่อน้ำเหลืองใหญ่ thoracic duct

ต่อมทอนซิล tonsil

ต่อมไทมัส thymus

ต่อมน้ำเหลือง lymph nodes

ม้าม spleen

ท่อน้ำเหลือง lymph vessels

เป็นต้น





ระบบน้ำเหลืองเป็นระบบลำเลียงสารต่าง ๆ ให้กลับเข้าสู่เส้นเลือด โดยเฉพาะสารอาหารพวกกรดไขมันที่ดูดซึมจากลำไส้เล็ก ระบบน้ำเหลืองจะไม่มีอวัยวะสำหรับสูบฉีดไปยังส่วนต่าง ๆ ประกอบไปด้วย น้ำเหลือง ( Lymph ) ท่อน้ำเหลือง ( Lymph vessel ) และอวัยวะน้ำเหลือง ( Lymphatic organ )

ก. น้ำเหลือง ( Lymph ) ส่วนประกอบของน้ำเหลืองคล้ายกับในเลือดแต่ไม่มีเม็ดเลือดแดง เป็นของเหลวที่ซึมผ่านผนังเส้นเลือดฝอยออกมาอยู่ระหว่างเซลล์หรือรอบ ๆ เซลล์ เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ ในน้ำเหลืองจะมีโปรตีน โมเลกุลเล็ก เช่น อัลบูมิน และสารที่มีโมเลกุลเล็ก ๆ เช่น ก๊าซ น้ำ น้ำตาลกลูโคส

ข. ท่อน้ำเหลือง ( Lymph vessel ) เป็นท่อตันมีอยู่ทั่วร่างกายมีขนาดต่าง ๆ กัน มีลักษณะคล้ายเส้นเลือดเวน คือมีลิ้นกั้นป้องกันการไหลกลับของน้ำเหลือง

น้ำเหลืองไหลไปตามท่อน้ำเหลือง โดยอาศัยปัจจัย 3 ประการ คือ

- การหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อที่จะไปกดหรือคลายท่อน้ำเหลือง

- ความแตกต่างระหว่างความดันไฮโดรสเตติก ซึ่งท่อน้ำเหลืองขนาดเล็กมีมากกว่า ท่อน้ำเหลืองขนาดใหญ

่ - การหายใจเข้า ซึ่งไปมีผลขยายทรวงอกและลดความดันทำให้ท่อน้ำเหลืองขยายตัว

ท่อน้ำเหลืองขนาดใหญ่มี 2 ท่อที่สำคัญคือ

- ท่อน้ำเหลืองทอราซิก (Thoracic duct ) เป็นท่อน้ำเหลืองขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่รับ น้ำเหลืองจากส่วนต่างๆของร่างกาย ยกเว้นทรวงอกขวาแขนขวาและส่วนขวาของหัวกับ คอ เข้าเส้นเลือดเวน แล้วเข้าสู่เวียนาคาวาก่อนเข้าสู่หัวใจ อยู่ทางซ้ายของลำตัว

- ท่อน้ำเหลืองทางด้านขวาของลำตัว ( Right lymphatic duct ) รับน้ำเหลืองจากทรวง อกขวาแขนขวา และส่วนขวาของหัวกับคอเข้าเส้นเลือดเวน แล้วเข้าสู่เวียนาคาวา เข้าสู่หัวใจ จากนั้นน้ำเหลืองที่ อยู่ในท่อน้ำเหลือง จะเข้าหัวใจปนกับเลือดเพื่อลำเลียงสารต่างๆต่อไป

ค. อวัยวะน้ำเหลือง ( Lymph organ ) อวัยวะน้ำเหลืองเป็นศูนย์กลางในการผลิตเซลล์ที่ใช้ในการต่อต้านเชื้อโรคหรือสิ่งแปลก ปลอมประกอบด้วย ต่อมน้ำเหลือง ต่อมทอนซิล ม้าม ต่อมไทมัส และเนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่อยู่ที่ลำไส้

- ต่อมน้ำเหลือง ( Lymph node ) พบอยู่ระหว่างทางเดินของท่อน้ำเหลืองทั่วไปในร่าง กายลักษณะเป็นรูปไข่ กลม หรือรี เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 มิลลิเมตร จะมีท่อน้ำเหลืองเข้าและท่อน้ำ เหลืองออกภายในเต็มไปด้วยเม็ดเลือดขาวชนิดโฟไซต์ ต่อมน้ำเหลืองจะทำหน้าที่กรองน้ำเหลืองให้สะอาดทำลาย แบคทีเรีย และทำลายเม็ดเลือดขาวที่อยู่ในวัยชรา

- ต่อมทอนซิล ( Thonsil gland ) เป็นกลุ่มของต่อมน้ำเหลืองมีอยู่ 3 คู่คู่ที่สำคัญอยู่ รอบๆหลอดอาหาร ภายในต่อมทอนซิลจะมีลิมโฟไซต์ทำลายจุลินทรีย์ที่ผ่านมาในอากาศไม่ให้เข้าสู่หลอดอาหารและ กล่องเสียงถ้าต่อมทอนซิลติดเชื้อจะมีอาการบวมขึ้น เรียกว่า ต่อมทอนซิลอักเสบ

- ม้าม ( spleen ) เป็นอวัยวะน้ำเหลืองที่ใหญ่ที่สุด มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมากมายไม่มีท่อน้ำ เหลืองเลย สามารถยืดหดได้ นุ่มมีสีม่วง อยู่ใกล้ๆกับกระเพาะอาหารใต้กระบังลมด้านซ้าย รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ภายในจะมีลิมโฟไซต์อยู่มากมาย ม้ามมีหน้าที่สร้างเม็ดเลือดในระยะเอ็มบริโอในคนที่คลอดแล้วม้ามทำหน้าที่

1. ทำลายเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้ว

2. สร้างเม็ดเลือดขาว พวกลิมโฟไซต์ และโมโนไซต์ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคที่เข้า ไปในกระแสเลือด

3. สร้างแอนติบอดี

4. ในสภาพผิดปกติ สามารถสร้างเม็ดเลือดแดงได้ เช่น มะเร็งเม็ดเลือด

- ต่อมไทมัส ( Thymus gland ) เป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ตอนอายุน้อย และถ้าอายุมากจะเล็ก ลงและฝ่อในที่สุด เป็นต่อมไร้ท่ออยู่ตรงทรวงอกรอบเส้นเลือดใหญ่ของหัวใจ ทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด ลิมโฟไซต์ T มีหน้าที่ต่อต้านเชื้อโรคและสารแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย รวมทั้งการต้านอวัยวะที่ปลูกถ่ายจากผู้อื่นด้วย เพิ่มเติม :








ตอบ 4

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (อังกฤษ: Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อม[1] มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด[2] เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A1





ตอบ 2

สิ่งที่อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ทั้งหมดยกเว้นนิวเคลียส เรียกว่า ไซโทพลาซึม ซึ่งเป็นของเหลวที่มีโครงสร้างเล็ก ๆ คือ ออร์แกเนลล์ (Organelle) กระจายอยู่ทั่วไป โดยออร์แกเนลล์ส่วนใหญ่จะมีเยื่อหุ้ม ทำให้องค์ประกอบภายในออร์แกเนลล์แยกออกจากองค์ประกอบอื่น ๆ ในไซโทพลาซึม ปฏิกิริยาทางชีวเคมีในออร์แกเนลล์จึงเกิดขึ้นได้อย่างเอกเทศ ทั้งนี้ ภายในเซลล์จะมีออร์แกเนลล์อยู่หลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีโครงสร้างและหน้าที่แตกต่างกันไป

ร่างแหเอนโดพลาซึม (Endoplasmic Reticulum) มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ 2 ชั้นพับไปมา แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีไรโบโซมเกาะติดอยู่ เรียกว่า แบบผิวขรุขระ (Rough Endoplasmic Reticulum) ทำหน้าที่ร่วมกับไรโบโซมในการสังเคราะห์โปรตีนและส่งโปรตีนออกนอกเซลล์

โดยส่งผ่านทางกอลจิแอพพาราตัสเพื่อนำไปใช้ในส่วนอื่น ๆ ของสิ่งมีชีวิต ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ ชนิดที่ไม่มีไรโบโซมเกาะติดอยู่ เรียกว่า แบบผิวเรียบ (Smooth Endoplasmic Reticulum) ซึ่งจะทำหน้าที่แตกต่างกันไปตามประเภทของเซลล์ เช่น ในเซลล์ตับ ทำหน้าที่กำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ในเซลล์ของเยื่อบุผิวลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารประเภทไขมัน ในเซลล์ชั้นนอกของต่อมหมวกไต ทำหน้าที่สร้างไขมันประเภทสเตรอยด์ที่เป็นฮอร์โมนหลายชนิด

ไรโบโซม (Ribosome) เป็นออร์แกเนลล์ขนาดเล็กที่ไม่มีเยื่อหุ้ม ประกอบด้วยโปรตีนและกรดไรโบนิวคลีอิก กระจายอยู่ทั่วไปภายในไซโทพลาซึม โดยอาจลอยอยู่เป็นอิสระ หรือต่อกันเป็นสาย หรือเกาะอยู่บนร่างแหเอนโดพลาซึมและเยื่อหุ้มนิวเคลียสชั้นนอก มีหน้าที่สำคัญในการสังเคราะห์โปรตีนเพื่อใช้ภายในหรือภายนอกเซลล์

กอลจิแอพพาราตัส (Golgi Apparatus) มีลักษณะคล้ายถุงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ทำหน้าที่สร้างคาร์โบไฮเดรตสำหรับใช้ในปฏิกิริยาเคมีของเซลล์หรือรวมกับโปรตีนที่สร้างจากร่างแหเอนโดพลาซึม

แบบผิวขรุขระกลายเป็นไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) แล้วเก็บไว้ในถุงเล็ก ๆ บริเวณขอบของกอลจิแอพพาราตัสที่เรียกว่า เวสิเคิล (Vesicle) เพื่อใช้ภายในเซลล์หรือส่งออกไปนอกเซลล์ โดยเวสิเคิลจะเคลื่อนที่หลุดออกจากกอลจิแอพพาราตัสไปได้

ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) มีลักษณะยาวรีและยืดหยุ่นได้ ความยาวก็แตกต่างกันไป ประกอบด้วยเยื่อหุ้มสองชั้น ชั้นนอกทำหน้าที่เป็นเยื่อเลือกผ่าน ส่วนชั้นในจะพับซ้อนไปมาเพื่อเพิ่ม พื้นที่ผิว ภายในไมโทคอนเดรียมีของเหลวบรรจุอยู่ ซึ่งจำนวนของไมโทคอนเดรียในเซลล์แต่ละชนิดจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับหน้าที่ของเซลล์ โดยไมโทคอนเดรียเป็นแหล่งผลิตสารที่มีพลังงานสูงให้แก่เซลล์

คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) พบได้ในเซลล์พืชและสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวบางชนิด มีลักษณะเป็นเม็ดกลมรี ประกอบด้วยเยื่อหุ้มสองชั้น ภายในมีรงควัตถุที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงอยู่หลายชนิด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสีเขียวที่เรียกว่า คลอโรฟิลด์ (Chlorophyll) นอกจากนี้ยังมีรงควัตถุสีอื่น ได้แก่ คาโรทีนอยด์ (Carotenoid) แซนโทฟีลล์ (Xanthophyll) และไฟโคบิลิน (Phycobilin)

เซนทริโอล (Centriole) พบในเซลล์สัตว์และโพรทิสต์บางชนิด มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ มีลักษณะคล้ายท่อทรงกระบอก 2 อันตั้งฉากกัน ซึ่งแต่ละอันประกอบด้วยหลอดเล็ก ๆ เรียกว่า ไมโครทูบูล (Microtubule) ที่เกิดจากเส้นใยของโปรตีนมารวมกลุ่มกัน

ไมโครทูบูล (Microtubule) นอกจากจะพบที่เซนทริโอลแล้ว ยังพบกระจายอยู่ทั่วไปในเซลล์ โดยไมโครทูบูลช่วยกำหนดและควบคุมรูปร่างของเซลล์ ควบคุมการเคลื่อนไหวของไซโทพลาซึม ซึ่งในซิเลียหรือแฟลเจลลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของสัตว์และโพรทิสต์บางชนิดก็พบไมโครทูบูล นอกจากนี้ ภายในเซลล์ยังมีเส้นใยโปรตีนขนาดเล็กที่ไม่ได้รวมกลุ่มกันเป็นหลอดเหมือนไมโครทูบูล แต่กระจายอยู่ทั่วไปในเซลล์ เรียกว่า ไมโครฟิลาเมนต์ (Microfilament) ซึ่งมีหน้าที่เช่นเดียวกับไมโครทูบูล

แวคิวโอล (Vacuole) เป็นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มชั้นเดียว มีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน

ภายในมีของเหลวบรรจุอยู่ พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตบางชนิด ในเซลล์พืชทั่วไป แวคิวโอลมักมีขนาดใหญ่ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมปริมาณน้ำในเซลล์ ในโพรทิสต์บางชนิด ได้แก่ อะมีบา พารามีเซียม มีแวคิวโอลที่เรียกว่า คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล (Contractile Vacuole) ทำหน้าที่รับสารซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำที่มีของเสียปนอยู่

แล้วกำจัดออกนอกเซลล์โดยการแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ นอกจากนี้ แวคิวโอลในโพรทิสต์บางชนิดยังมีอาหารอยู่ภายใน เรียกว่า ฟูดแวคิวโอล (Food Vacuole)







ตอบ 3

ลักษณะปรากฏ (อังกฤษ: phenotype) หมายถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกัน สามารถมองเห็น หรือชั่ง ตวง วัดได้ ลักษณะปรากฏได้แก่ ลักษณะสีนัยน์ตา สีผม ความสูง สีของขนสัตว์ สีของดอกไม้ ลักษณะของเมล็ด ความฉลาด ความถนัด

ลักษณะทางพันธุกรรม (อังกฤษ: genotype) หมายถึงลักษณะองค์ประกอบของยีน (gene) ของสิ่งมีชีวิตที่มีการแสดงออกเป็นลักษณะปรากฏที่แตกต่างกัน และสามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นอื่นๆ ต่อไปได้ โดยการถ่ายทอดยีน

ในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจะมีหน่วยควบคุมลักษณะ (genetic unit) ควบคุมสิ่งมีชีวิตให้มีรูปร่าง และลักษณะเป็นไปตามเผ่าพันธุ์ของพ่อแม่ เรียกว่า ยีน ดังนั้นยีนจึงทำหน้าที่ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ จากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นหลาน

ลักษณะต่างๆ ที่ถ่ายทอดไปนั้นพบว่าบางลักษณะไม่ปรากฏในรุ่นลูก แต่อาจจะปรากฏในรุ่นหลานหรือเหลนก็ได้ จึงมีผลทำให้เกิดความแตกต่างกันของลักษณะทางพันธุกรรมจนมีผลทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดความหลากหลาย แต่การสะสมลักษณะทางพันธุกรรมจำนวนมากทำให้เกิดสปีชีส์ต่างๆ และสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ได้จนถึงปัจจุบัน

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1